จาก New York City ถึง Copenhagen
“To be born in a duck nest, in a farmyard, is of no consequence to a bird if it is hatched from a swan’s egg.”
From The ugly duckling, H.C. Andersen
คนที่เคยไปเที่ยว หรือสัมผัสวิถีชีวิตแบบ New Yorker คงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก สวนสาธารณะ Central Park แน่นอน
Central Park มีขนาด 2 ตารางไมล์ ตั้งอยู่กลางเกาะ Manhattan เป็นสวนสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดในโลก
คนที่เคยเดินเล่นใน Central Park คงรู้ว่า สวนสาธารณะแห่งนี้ สวยและเต็มไปด้วยชีวิตชีวา และคับคั่งด้วยผู้คนเพียงใด
เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ผมมีโอกาสได้สัมผัสบรรยากาสเมืองหลวงของระบบทุนนิยมแห่งนี้ในช่วงเวลาสั้นๆ แต่ก็มีเวลาพอที่จะเดินสำรวจสวนสาธารณะแห่งนี้
เดินตามแผนที่พบสวนเล็กๆ หลบอยู่ในมุมหนึ่งของสวนสาธารณะยักษ์แห่งนี้ รู้สึกแปลกใจที่บริเวณนี้เงียบสงบ
มีรูปปั้นของชายแต่งกายย้อนยุคขนาดเท่าคนจริง กำลังอ่านหนังสือ และมีเป็ดน้อยยืนอยู่ข้างๆ ใกล้กันนั้นเป็นสระน้ำขนาดเล็กที่พ่อแม่พาลูกๆ ของเขามานั่งพักผ่อนและอ่านหนังสือให้ฟัง ขณะที่เด็กจำนวนหนึ่งกำลังสนุกกับการเล่นเรือใบบังคับวิทยุลำน้อยของพวกเขา
เมื่อ 50 ปีที่แล้ว เด็กนักเรียน ชาวอเมริกันและเดนนิชร่วมบริจาคเงินค่าขนมของแต่ละคน รวมมูลค่า $72,000 สร้างรูปปั้น Hans Christian Andersen เพื่อฉลองวันเกิดครบรอบ 150 ปีของเขา และตั้งรูปปั้นไว้ที่ Central Park กลางนคร New York และตั้งชื่อบริเวณนั้นว่า Hans Christian Andersen Garden
Hans Christian Andersen เป็นทั้งกวี นักประพันธ์ และนักปรัชญา ชาวเดนนิช ที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งในโลก ตลอดชีวิตเขาประพันธ์ นิยายสำหรับเด็กที่มีเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก เช่น The ugly duckling, The little mermaid, The emperor’s new cloth และอีกกว่า 200 เรื่องที่เป็นที่มาของคำว่า “เทพนิยายเดนมาร์ก”
ปีนี้ผมมีโอกาสเดินทางมา Copenhagen นครที่นักประพันธ์ผู้นี้เคยอาศัย และใช้เวลาส่วนใหญ่ในเมืองนี้แต่งนิยายหลายเรื่อง และปีนี้เป็นที่ฉลองครบรอบ 200 ปีของนักประพันธ์ผุ้นี้
มีโอกาสเดินในเมืองนี้ เห็นของที่ระลึก โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ร่วมฉลองให้กับนักประพันธ์ผู้นี้ เต็มเมืองไปหมด เช่นละคอนเวที การเล่านิทาน หรือแม้กระทั่งจุดสำคัญทั้ง 62 จุดใน Copenhagen ที่เกี่ยวกับชีวิตนักประพันธ์ของเขา
เสียดายที่ไม่ได้มีเวลามากเหมือนกับตอนที่ไปที่ New York เลยไม่ได้ตามรอยเท้านักประพันธ์ผู้นี้ไปทั่วเมือง ทำได้แค่ซื้อหนังสือรวมนิทานชื่อดังของเขา หนึ่งเล่มเอาไปอ่านเล่นที่เมืองไทยเท่านั้นเอง
การได้สัมผัสบรรยากาสเหล่านี้ ทำให้ผมเข้าใจว่า ชาวต่างประเทศให้คุณค่ากับผู้เป็น นักเขียน กวี หรือนักประพันธ์เป็นอย่างมาก เพราะผู้คนเหล่านั้นเป็นเสมือนผู้จุดประกายความคิดให้กับผู้คนอีกเป็นจำนวนมาก
น่าเสียดายที่ประเทศไทย เคยมีนักเขียน/กวี ที่มีความสามารถระดับ “คลาสสิค” จำนวนมาก เช่น สุนทรภู่ มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ กุหลาบ สายประดิษฐ์ นวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ฯลฯ แต่พวกเรากลับแทบไม่ให้ความสำคัญเขา อย่างทีควรจะเป็น สาเหตุคงเป็นเพราะวัฒนธรรมการอ่านไม่ค่อยเป็นที่คุ้นเคยกับชาวไทยเท่าไรนัก
แล้วเมื่อไรจะระบบการศึกษาจะได้พัฒนาเสียที?
0 Comments:
Post a Comment
<< Home