ปิศาจสงคราม Retro
วันที่ 16 สิงหาคม 1945/2488 เป็นวันสิ้นสุด สงครามโลกครั้งที่สองอย่างเป็นทางการ ถ้าพูดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น วันนี้คือเป็นวันที่องค์จักรพรรดิ์ประกาศยอมแพ้ต่อสัมพันธมิตร (เป็นคำประกาศที่มีความหมายแยบยลมากเพราะแทนที่จะใช้คำว่า “ยอมแพ้” แต่กลับใช้คำว่า “ทุกสิ่งไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ”) ดังนั้นสงครามแปซิกฟิกจึงสิ้นสุดลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมในปีเดียวกัน
สำหรับประเทศไทย วันที่ 16 สิงหาคม คือ “วันอิสรภาพ” ที่หน่วยเสรีไทยขึ้นมาจากใต้ดินปลดอาวุธและ “ปลดแอก” รัฐบาลไทยจากความฝันวงไพบูลย์มหาเอเชียบูรพา ซึ่งทำให้ไทย “รอดพ้น” จากการเป็นประเทศผู้แพ้สงราม (แต่กลับต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามแก่ประเทศพันธมิตร!?) ท่ามกลางความรู้สึกงงๆ ของญี่ปุ่นมิตรประเทศผู้กลายเป็น “อดีต” อย่างรวดเร็ว
ความทรงจำของผมกับเรื่องราวสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้นที่ห้องสมุดในโรงเรียน “รั้วแดง-ขาว” เป็นปีที่ผมเพิ่งมีอายุขึ้นสองหลัก นักเรียนทุกคนจะมี “วิชาห้องสมุด” หนึ่งครั้งในแต่ละสัปดาห์ เป็นชั่วเวลาราวหนึ่งชั่วโมงที่นักเรียนมีโอกาสพักผ่อนอ่านหนังสือในห้องสมุด
เพื่อนผมคนหนึ่งหยิบหนังสือเก่าชื่อ “อัศวินเวหา” แบ่งให้ผมอ่านด้วยกัน นี่คือครั้งแรกที่ผมได้อ่านประวัติทหารอากาศผู้มีชื่อเสียงนับตั้งแต่มีผู้ใช้เครื่องบินเป็นส่วนหนึ่งเครื่องจักรสงครามจนถึงยุคที่เวียดนามเหนือและใต้รวมกันเป็นหนึ่ง
เป็นเรื่องไม่แปลกที่ผมและเพื่อนคนนั้นรดจำเหล่าอัศวินเวหา ในฐานะ Hero คนแรกๆ เท่าที่ยังหลงเหลืออยู่ความทรงจำก็คือ David McCampbell นอกเหนือจาก ชาวดาว M-78 หรือมนุษย์ค้างคาว จากวันนั้นเราทั้งสองเริ่มมีความสนใจประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่สอง จากยุทธเวหาเหนือเกาะอังกฤษ ถึงยุทธนาวีที่ทะเลฟิลิปินส์ และการประจัญบาณของรถถังที่แอฟริกาเหนือ
เราเริ่มขยายพรหมแดนความสนใจจากเรื่องราวและเนื้อหาของสงคราม สู่ความรู้เกี่ยวกับเครื่องจักรสงคราม เราสะสมความรู้เกี่ยวกับรถถัง เรือประจัญบาณ ฐานบินลอยน้ำ และสิ่งที่เรามีความถนัดมากที่สุดคือเหล่าฝูงบินใบพัด – พาหนะที่สร้างชื่อเสียงให้กับเหล่า Hero ตัวเป็นๆ ของพวกเรา ซึ่งการที่เคยมีฝันเป็นวิศวกรสร้างเครื่องบินคงเป็นสาเหตุหลักทำให้ผมสนใจศึกษาข้อมูลเครื่องบินรบแต่ละรุ่นเป็นพิเศษ
สงครามอ่าวเปอร์เซียยกแรก (ในปี 1991/2534) เริ่มหันเหความสนใจของเรา จากอาวุธ “คลาสสิค” มาสู่อาวุธทันสมัย และยิ่งขยายเขตความรู้ของเรากว้างไปยิ่งขึ้น เริ่มรู้จักเครื่องบินที่ใช้เครื่องยนต์เจ็ท นอกเหนือเครื่องบินใบพัด และตระหนักถึงสมรรถนะอันเทียบกันไม่ได้ระหว่างจรวดกับลูกปืนกลแบบเก่า
เป็นเรื่องไม่แปลกที่เด็กในวัยของเรา (ขณะนั้น) สามารถหลงใหลกับเรื่องราว หรือความรู้ต่างๆ อย่างครั่งไคร้ ถึงกับหายใจเข้า-ออก เป็นเรื่องนั้น เป็นสิ่งนั้น เพราะพวกเรา “มีเวลา” มากมายเหลือเฟือ และไม่ต้องเปลืองสมองไปกับ “สิ่งที่ต้องรับผิดชอบ” ให้มากมายเหมือนกับปัจจุบันนี้ แต่สำหรับผมสิ่งที่เข้า-ออก ลมหายใจของผมกลับมีรูปพรรณที่ใหญ่โต และหนักอึ้ง บางชิ้นมีประสิทธิภาพทำลายตึกใหญ่ๆ ได้ด้วยการซัลโวกระสุนเพียงนัดเดียว ซึ่งความลุ่มหลงในอาวุธสงครามของผมทำให้เพื่อนสนิทผมมอบ “ปิศาจสงคราม” เป็นตำแหน่งห้อยท้ายต่อชื่อผม แต่ขณะที่ใจผมกลับแปลความหมายของตำแหน่งนี้ว่า “ผู้เชี่ยวชาญเรื่องอาวุธหนัก” เพื่อภาพความโหดร้ายของตำแหน่งที่ผมได้รับเกียรตินั้น
การสิ้นสุดของสงครามเย็นเมื่อกว่าสิบปีที่แล้ว ทำให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สงครามและอาวุธสงคราม ยังพอใช้ได้กับยุคปัจจุบันนี้เพราะเมื่อความกังวลเกี่ยวกับสงครามนิวเคลียร์หายไป งบลงทุนและพัฒนาอาวุธในหลายประเทศก็ลดลงด้วย ดังนั้นอาวุธสงครามชิ้นใหม่ๆ จึงไม่ค่อยปรากฏโฉมอย่างมากมายเหมือนกับแต่ก่อน
ปัจจุบันนี้ ผมคงไม่ได้เป็น “ปิศาจสงคราม” เหมือนกับที่เคยเป็นในอดีตเพราะว่าความสนใจของสมองถูกแบ่งไปกับเรื่องราวต่างๆ ที่ผมได้เรียนรู้เมื่อเติบโตขึ้น มันมากมายเสียจนแทบไม่เหลือพื้นที่ของอาวุธหนักและประวัติศาสตร์สงครามให้จับจองในหัวสมอง เพราะเมื่อเวลาผ่านพ้นไปนานขึ้นพร้อมกับความรับผิดชอบมากขึ้นตามวัย พร้อมกับการเปิดโลกเรียนรู้และรับรู้สิ่งแปลกใหม่มากขึ้น เริ่มทำให้ผมห่างไกลจากสารบบเกี่ยวกับอาวุธสงครามและหนังสือประวัติศาสตร์สงครามโลกมากขึ้น แต่ถึงกระนั้นกาลเวลาที่ไหลผ่านไป แทบไม่สามารถละลายความทรงจำ ของผมกับความรู้ที่ผมสะสมมาตั้งแต่ยังใช้คำว่า “เด็กชาย” นำหน้าชื่อและเมื่อใดที่ผมได้ดูรายการสารคดีประวัติศาสตร์ หรืออาวุธสงคราม ผมก็รู้สึกดีเสมอที่ได้กลับไปวิ่งเล่นในความทรงจำเก่าๆ นั้น
สำหรับประเทศไทย วันที่ 16 สิงหาคม คือ “วันอิสรภาพ” ที่หน่วยเสรีไทยขึ้นมาจากใต้ดินปลดอาวุธและ “ปลดแอก” รัฐบาลไทยจากความฝันวงไพบูลย์มหาเอเชียบูรพา ซึ่งทำให้ไทย “รอดพ้น” จากการเป็นประเทศผู้แพ้สงราม (แต่กลับต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามแก่ประเทศพันธมิตร!?) ท่ามกลางความรู้สึกงงๆ ของญี่ปุ่นมิตรประเทศผู้กลายเป็น “อดีต” อย่างรวดเร็ว
ความทรงจำของผมกับเรื่องราวสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้นที่ห้องสมุดในโรงเรียน “รั้วแดง-ขาว” เป็นปีที่ผมเพิ่งมีอายุขึ้นสองหลัก นักเรียนทุกคนจะมี “วิชาห้องสมุด” หนึ่งครั้งในแต่ละสัปดาห์ เป็นชั่วเวลาราวหนึ่งชั่วโมงที่นักเรียนมีโอกาสพักผ่อนอ่านหนังสือในห้องสมุด
เพื่อนผมคนหนึ่งหยิบหนังสือเก่าชื่อ “อัศวินเวหา” แบ่งให้ผมอ่านด้วยกัน นี่คือครั้งแรกที่ผมได้อ่านประวัติทหารอากาศผู้มีชื่อเสียงนับตั้งแต่มีผู้ใช้เครื่องบินเป็นส่วนหนึ่งเครื่องจักรสงครามจนถึงยุคที่เวียดนามเหนือและใต้รวมกันเป็นหนึ่ง
เป็นเรื่องไม่แปลกที่ผมและเพื่อนคนนั้นรดจำเหล่าอัศวินเวหา ในฐานะ Hero คนแรกๆ เท่าที่ยังหลงเหลืออยู่ความทรงจำก็คือ David McCampbell นอกเหนือจาก ชาวดาว M-78 หรือมนุษย์ค้างคาว จากวันนั้นเราทั้งสองเริ่มมีความสนใจประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่สอง จากยุทธเวหาเหนือเกาะอังกฤษ ถึงยุทธนาวีที่ทะเลฟิลิปินส์ และการประจัญบาณของรถถังที่แอฟริกาเหนือ
เราเริ่มขยายพรหมแดนความสนใจจากเรื่องราวและเนื้อหาของสงคราม สู่ความรู้เกี่ยวกับเครื่องจักรสงคราม เราสะสมความรู้เกี่ยวกับรถถัง เรือประจัญบาณ ฐานบินลอยน้ำ และสิ่งที่เรามีความถนัดมากที่สุดคือเหล่าฝูงบินใบพัด – พาหนะที่สร้างชื่อเสียงให้กับเหล่า Hero ตัวเป็นๆ ของพวกเรา ซึ่งการที่เคยมีฝันเป็นวิศวกรสร้างเครื่องบินคงเป็นสาเหตุหลักทำให้ผมสนใจศึกษาข้อมูลเครื่องบินรบแต่ละรุ่นเป็นพิเศษ
สงครามอ่าวเปอร์เซียยกแรก (ในปี 1991/2534) เริ่มหันเหความสนใจของเรา จากอาวุธ “คลาสสิค” มาสู่อาวุธทันสมัย และยิ่งขยายเขตความรู้ของเรากว้างไปยิ่งขึ้น เริ่มรู้จักเครื่องบินที่ใช้เครื่องยนต์เจ็ท นอกเหนือเครื่องบินใบพัด และตระหนักถึงสมรรถนะอันเทียบกันไม่ได้ระหว่างจรวดกับลูกปืนกลแบบเก่า
เป็นเรื่องไม่แปลกที่เด็กในวัยของเรา (ขณะนั้น) สามารถหลงใหลกับเรื่องราว หรือความรู้ต่างๆ อย่างครั่งไคร้ ถึงกับหายใจเข้า-ออก เป็นเรื่องนั้น เป็นสิ่งนั้น เพราะพวกเรา “มีเวลา” มากมายเหลือเฟือ และไม่ต้องเปลืองสมองไปกับ “สิ่งที่ต้องรับผิดชอบ” ให้มากมายเหมือนกับปัจจุบันนี้ แต่สำหรับผมสิ่งที่เข้า-ออก ลมหายใจของผมกลับมีรูปพรรณที่ใหญ่โต และหนักอึ้ง บางชิ้นมีประสิทธิภาพทำลายตึกใหญ่ๆ ได้ด้วยการซัลโวกระสุนเพียงนัดเดียว ซึ่งความลุ่มหลงในอาวุธสงครามของผมทำให้เพื่อนสนิทผมมอบ “ปิศาจสงคราม” เป็นตำแหน่งห้อยท้ายต่อชื่อผม แต่ขณะที่ใจผมกลับแปลความหมายของตำแหน่งนี้ว่า “ผู้เชี่ยวชาญเรื่องอาวุธหนัก” เพื่อภาพความโหดร้ายของตำแหน่งที่ผมได้รับเกียรตินั้น
การสิ้นสุดของสงครามเย็นเมื่อกว่าสิบปีที่แล้ว ทำให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สงครามและอาวุธสงคราม ยังพอใช้ได้กับยุคปัจจุบันนี้เพราะเมื่อความกังวลเกี่ยวกับสงครามนิวเคลียร์หายไป งบลงทุนและพัฒนาอาวุธในหลายประเทศก็ลดลงด้วย ดังนั้นอาวุธสงครามชิ้นใหม่ๆ จึงไม่ค่อยปรากฏโฉมอย่างมากมายเหมือนกับแต่ก่อน
ปัจจุบันนี้ ผมคงไม่ได้เป็น “ปิศาจสงคราม” เหมือนกับที่เคยเป็นในอดีตเพราะว่าความสนใจของสมองถูกแบ่งไปกับเรื่องราวต่างๆ ที่ผมได้เรียนรู้เมื่อเติบโตขึ้น มันมากมายเสียจนแทบไม่เหลือพื้นที่ของอาวุธหนักและประวัติศาสตร์สงครามให้จับจองในหัวสมอง เพราะเมื่อเวลาผ่านพ้นไปนานขึ้นพร้อมกับความรับผิดชอบมากขึ้นตามวัย พร้อมกับการเปิดโลกเรียนรู้และรับรู้สิ่งแปลกใหม่มากขึ้น เริ่มทำให้ผมห่างไกลจากสารบบเกี่ยวกับอาวุธสงครามและหนังสือประวัติศาสตร์สงครามโลกมากขึ้น แต่ถึงกระนั้นกาลเวลาที่ไหลผ่านไป แทบไม่สามารถละลายความทรงจำ ของผมกับความรู้ที่ผมสะสมมาตั้งแต่ยังใช้คำว่า “เด็กชาย” นำหน้าชื่อและเมื่อใดที่ผมได้ดูรายการสารคดีประวัติศาสตร์ หรืออาวุธสงคราม ผมก็รู้สึกดีเสมอที่ได้กลับไปวิ่งเล่นในความทรงจำเก่าๆ นั้น
4 Comments:
เอาไปดู
By PowerbookDuo, at 4:26 am
Thanks Bobba
By Dawdle Man, at 9:56 am
แวะมาเยี่ยมครับ
By Steelers(钢人), at 11:16 am
ไปร่วมรำลึกงาน Meet the Bloggers กันครับผม
ที่บล็อกของผมครับ
By ratioscripta, at 12:49 am
Post a Comment
<< Home